Header Image
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
watermark

จังหวัดอุทัยธานี

ประวัติจังหวัดอุทัยธานี

               เมืองอุทัยธานี มีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรยืนยันไว้ว่า เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 3,000 ปี มาแล้ว โดยพบหลักฐานยืนยันในหลายพื้นที่ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวด และภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขาปลาร้า 
               ตำนานเก่าเล่าว่า ในสมัยสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองนั้น “ ท้าวมหาพรหม” ได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า คือ อำเภอหนองฉางในปัจจุบันนี้ แล้วพาคนไทยเข้ามาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านคนมอญ และคนกะเหรี่ยง จึงเรียกว่า“เมืองอู่ไทย” เรียกชื่อตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทย ซึ่งพากันตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น มีพืชพรรณ และอาหารที่อุดมสมบูรณ์กว่าแห่งอื่น ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินและเกิดกันดารน้ำ เมืองอู่ไทยจึงถูกทิ้งร้าง จนในที่สุด “พะตะเบิด”  ได้เข้ามาปรับปรุงเมือง    อู่ไทยโดยขุดที่เก็บกักน้ำไว้ใกล้เมือง และพะตะเบิดได้เป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยเป็นคนแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองอู่ไทย ต่อมาได้เรียกกันเป็น "เมืองอุไทย" คาดว่าเพี้ยนไปตามสำเนียงชาวพื้นเมืองเดิม ได้มีฐานะเป็นหัวเมืองด่านชั้นนอก มีพระพลสงครามเป็นนายด่านแม่กลอง และพระอินทรเดช เป็นนายด่านหนองหลวง (ปัจจุบัน แม่กลอง คือ อำเภออุ้มผาง และหนองหลวง คือ ตำบลหนองหลวง อำเภอ   อุ้มผาง จังหวัดตาก) คอยดูแลพม่าที่จะยกทัพมาตามเส้นทางชายแดนด่านแม่ละเมา ต่อมาในสมัยพระเอกาทศรถ (พ.ศ.2148 - 2163)  ได้โปรดให้บัญญัติอำนาจการใช้ตราประจำตำแหน่ง มีบัญชาการตามหัวเมืองนั้น   ได้ระบุในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญว่า “เมืองอุไทยธานี เป็นหัวเมืองขึ้นแก่มหาดไทย” เมืองอุไทยธานี เป็นเมืองที่อยู่บนที่ดอนและลึกเข้าไป ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ และไม่สามารถติดต่อทางเรือได้ ดังนั้นชาวเมืองอุไทยธานี จึงต้องขนข้าวบรรทุกเกวียนมาลงที่แม่น้ำ จึงทำให้พ่อค้าพากันไปตั้งยุ้งฉางรับซื้อข้าวที่ริมแม่น้ำจนเป็นหมู่บ้านใหญ่ เรียกว่าหมู่บ้าน 
“สะแกกรัง” เนื่องจากเป็นพื้นที่มีป่าสะแกขึ้นเต็มริมน้ำ และมีต้นสะแกใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน
               บ้านสะแกกรัง ชาวจีนเรียกเพี้ยนเป็น “ซิเกี๋ยกั้ง”เป็นตลาดซื้อข้าวที่มีพ่อค้าคนจีนนิยมไปตั้งบ้านเรือนและยุ้งฉาง ต่อมาในระยะหลังได้มีเจ้านายและขุนนางมาตั้งบ้านเรือนอยู่ เพราะความสะดวกในการกะเกณฑ์สิ่งของส่งเมืองหลวง ซึ่งเป็นจำพวก มูลค้างคาว ไม้ซุง กระวาน และช้างป่า อีกทั้งยังมีช่องทางในการค้าข้าวอีกด้วย
               พ.ศ. 2376 ข้าราชการชาวกรุงเทพฯผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระยาอุไทยธานี เจ้าเมืองอุไทยธานีในสมัยนั้น ได้เห็นว่าบ้านสะแกกรังเป็นตลาดใหญ่ มีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่กันอย่างหนาแน่น อีกทั้งเป็นสถานที่ที่ชาวอุไทยธานีติดต่อค้าขายข้าว และไม้ซุง กับพ่อค้าที่นั่นมานานแล้ว จึงคิดตั้งบ้านเรือนเพื่อค้าขาย ประจวบกับเวลานั้น เจ้าเมืองไชยนาทเป็นเพื่อนกัน จึงขอตั้งบ้านเรือนที่ริมแม่น้ำสะแกกรัง เนื่องจากผู้คนมาติดต่อราชการและมาค้าขายกันมาก ทั้งนี้ เนื่องจากเจ้าเมืองไม่กล้าขึ้นไปเมืองอุไทยธานีเก่า อ้างว่ากลัวไข้ป่า จึงเป็นเหตุให้พากันอพยพมาอยู่กันมากขึ้น 
               พ.ศ. 2391 ได้มีการแบ่งเขตดินแดนเมืองอุไทยธานี และเมืองไชยนาทโดยตัดเขตบ้าน สะแกกรังทางฝั่งคลองฟากใต้ ตั้งแต่ท้ายบ้านสะแกกรังไปจดเมืองอุไทยธานีเก่า โอนที่นั่นจากเมือง     ไชยนาท เป็นของเมืองอุไทยธานี ดังนั้นเมืองอุไทยธานี จึงตั้งอยู่ที่ปลายสุดเขตแดนเมืองมโนรมย์ ข้างใต้บ้านลงมาสักคุ้งน้ำหนึ่งก็เป็นแดนเมืองไชยนาท 
               พ.ศ. 2441 เมืองอุไทยธานี ขึ้นกับมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนเป็นขึ้นกับมณฑลอยุธยา  สุดท้ายมีการประกาศเลิกมณฑลปี พ.ศ. 2476 และกำหนดให้จังหวัดเป็นหน่วยปกครองส่วนภูมิภาค

 

(1)  ที่ตั้งและอาณาเขต

          จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่าง บริเวณลุ่มน้ำสะแกกรัง ซึ่งไหลสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือตามถนนสายเอเชีย ประมาณ 206 กิโลเมตร แยกเข้าจังหวัดอุทัยธานีตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 333 ที่บ้านท่าน้ำอ้อย ประมาณ 16 กิโลเมตร ถึงจังหวัดอุทัยธานี รวมระยะทาง 222 กิโลเมตร

          มีพื้นที่รวม 6,730 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,206,404 ไร่ เป็นพื้นที่ทางการเกษตร 1,861,347 ไร่ และพื้นที่ป่าที่มีสภาพเป็นพื้นที่คุ้มครอง ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ 9 แห่ง วนอุทยาน 2 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง มีเนื้อที่รวม 2,828,185 ไร่

อาณาเขตติดต่อของจังหวัด

ทิศเหนือ              -    ติดต่อกับจังหวัดนครสวรรค์ที่ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ อำเภอลาดยาวและอำเภอแม่วงก์

ทิศตะวันออก         -    ติดกับจังหวัดนครสวรรค์ที่ อำเภอพยุหะคีรี และจังหวัดชัยนาทที่อำเภอมโนรมย์โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขตแดน

ทิศตะวันตก           -    ติดต่อกับจังหวัดตากที่ อำเภออุ้มผาง และจังหวัดกาญจนบุรีที่ อำเภอสังขละบุรีและอำเภอศรีสวัสดิ์

ทิศใต้                  -    ติดต่อกับจังหวัดชัยนาทที่ อำเภอวัดสิงห์ และอำเภอหันคา และติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรีที่ อำเภอด่านช้าง 

 

         (2) สภาพภูมิประเทศ

                                     สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่หรือประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่จังหวัดเป็นป่าและภูเขาสูง มีลักษณะลาดเทจากทิศตะวันตกต่ำลงมาทางทิศตะวันออก โดยทางทิศตะวันตกจะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ดอน พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น ส่วนทางด้านตะวันออกของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ราบในทางการเกษตรมีประมาณ 1ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีแม่น้ำสะแกกรังไหลผ่านตัวเมือง ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

         (3) สภาพภูมิอากาศ

สภาพอากาศทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ฤดู

ฤดูร้อน      - เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม

ฤดูฝน       - เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม

ฤดูหนาว    - เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม

         (4) ทรัพยากรธรรมชาติ

                            (4.1)  ทรัพยากรแร่ธาตุ

               จังหวัดอุทัยธานี  มีเหมืองแร่สัมปทานที่เปิดทำการ 3 แห่ง แร่ธาตุที่สำคัญ คือ หินอ่อน เหล็ก และหินปูน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง แร่ธาตุที่มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำรวจพบและเปิดทำเหมืองแร่

                            (4.2)  ทรัพยากรป่าไม้

                                พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดอุทัยธานี    ได้ถูกกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติทั้งสิ้น  จำนวน  9   แห่ง    พื้นที่รวม 4,525.10 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,828,185 ไร่ คิดเป็น 61.90 % ของพื้นที่จังหวัด (4,206,404)    มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งพื้นที่ 1,617,587 ไร่  (เฉพาะในเขตจังหวัดอุทัยธานี)  เขตฯ ดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ   มีสัตว์ป่าจำนวนมาก บางชนิดหายากและใกล้สูญพันธุ์ เช่น ควายป่า แรด ช้างป่า วัวแดง กระทิง กวาง นกยูง เป็นต้น สภาพป่าส่วนใหญ่ยังสมบูรณ์ เป็นป่าดิบชื้นมียอดเขาสูงและเป็นเนินป่าเต็งรัง สลับกับทุ่งหญ้าหย่อมเล็ก ๆ  ไม้ที่สำคัญ  คือ  ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่าโมง ไม้ตะเคียน เป็นต้น   ทิศตะวันตกมีพื้นที่ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางจังหวัดตาก ส่วนทิศใต้จดอุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์

                            (4.3)  ทรัพยากรดิน

         ดินในจังหวัดอุทัยธานี โดยทั่วไปจะมีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลาง ดังนี้

  1. ดินในบริเวณที่ราบลุ่มริมน้ำ ซึ่งอยู่ขนานเป็นแนวไปตามลำน้ำสะแกกรัง มีลักษณะเป็นดินร่วนและดินปนทราย มีการระบายน้ำดีมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
  2. ดินในบริเวณตะวันออกของจังหวัด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอหนองขาหย่าง   อำเภอสว่างอารมณ์   และอำเภอทัพทัน   มีลักษณะเป็นลานตะพักลำน้ำ เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายในดินชั้นบน และเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายในชั้นล่าง
  3. ดินในบริเวณตอนกลางของตัวจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก และอำเภอห้วยคต  ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นป่าและป่าที่ถูกบุกเบิกมาใช้ในการปลูกพืชไร่  ลักษณะของดินจะแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ในบริเวณนั้น ๆ แต่ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงอุดมสมบูรณ์ต่ำ
  4. ดินในบริเวณตะวันตกของจังหวัด ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาหรือเทือกเขา ดินที่พบส่วนใหญ่เป็นดินตื้นมีเศษหินปะปนโดยทั่วไป

                                     จากการศึกษาถึงสภาพความสมดุลของน้ำในดินเพื่อการเกษตรของจังหวัดอุทัยธานี ในรอบ 1 ปีจะมีช่วงเวลาที่ดินขาดน้ำ (Water Deficiency) นานถึง 9 เดือน เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมจนถึงปลายเดือนกรกฎาคม เนื่องมาจากปริมาณน้ำที่มีอยู่ในดินไม่เพียงพอต่อการใช้คายระเหยน้ำ (Evapotranspiration) และมีช่วงเวลาที่ดินมีน้ำมากเกินพอ (Water Surplus) อยู่ประมาณ 1.5 เดือน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายนถึงสิ้นเดือนตุลาคม เนื่องจากดินมีความชื้นถึงจุดอิ่มตัวแล้ว และน้ำฝนที่ตกลงมามีปริมาณมากเกินกว่าที่ดินจะเก็บสะสมเอาไว้ได้

                             (4.4)  ทรัพยากรแหล่งน้ำ

             จากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดอุทัยธานี มีด้านตะวันตกเป็นเทือกเขา ทอดตัวไปตามแนวทิศเหนือใต้  เป็นเหตุให้บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัดหลายสายด้วยกัน สำหรับแม่น้ำลำห้วยสายสำคัญของจังหวัด ได้แก่

                                          1) ลำห้วยทับเสลา  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอบ้านไร่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดไหลผ่านอำเภอลานสัก ลงมาถึงบ้านทับเสลา อำเภอหนองฉาง และแยกออกเป็นสองสาย สายหนึ่งไหลผ่านอำเภอ ทัพทัน ไปบรรจบแม่น้ำสะแกกรัง ที่บ้านโคกหม้อ อำเภอทัพทัน ส่วนอีกสายหนึ่งไหลผ่านอำเภอหนองฉาง อำเภอหนองขาหย่าง ไปบรรจบแม่น้ำสะแกกรังที่บ้านปากกะบาด อำเภอเมืองอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร

                                          2)ลำห้วยคลองโพธิ์ เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอสว่างอารมณ์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุทัยธานี ไหลผ่านป่าเขาและหมู่บ้านเล็ก ๆ ลงมาบรรจบแม่น้ำสะแกกรัง ที่อำเภอสว่างอารมณ์ ความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร

                                          3) ลำห้วยขุนแก้ว เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอบ้านไร่ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดไหลผ่านหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านไร่ อำเภอหนองฉาง อำเภอหนองขาหย่าง และไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านเกาะตาลัดในอำเภอเมือง มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร

                                          4) ลำห้วยแม่วงก์ เป็นแหล่งต้นน้ำของลุ่มแม่น้ำสะแกกรังที่เกิดจากเทือกเขาแม่วงก์ ในจังหวัดกำแพงเพชร ไหลผ่านอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ และไหลมาบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร

                                          5) ลำห้วยคอกควาย  เกิดจากเทือกเขาในตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ ไหลผ่านตำบลคอกควาย ตำบลห้วยคต และตำบลวังหินในอำเภอบ้านไร่ มีความยาวประมาณ 53 กิโลเมตร

                                          6) แม่น้ำสะแกกรัง  มีต้นกำเนิดจาก ลำห้วยคลองโพธิ์ ไหลผ่านตัวเมืองอุทัยธานี ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มีความยาวตลอดสาย ประมาณ 180 กิโลเมตร แต่มีช่วงที่ไหลผ่านเขตจังหวัดอุทัยธานี เพียงประมาณ 85 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายหลักของชาวอุทัยธานี

 (4.5)  ภูเขาและเทือกเขาที่สำคัญ

                                         1) เขาสะแกกรัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี สามารถเดินทางเข้าถึงบริเวณวัดสังกัสรัตนคีรี โดยขึ้นทางบันไดสู่มณฑปพระพุทธบาทบนเขาสะแกกรัง หรือเดินทางจากตัวเมืองสู่ถนนสาย 333 และเลี้ยวเข้าสู่สนามกีฬาประจำจังหวัด ซึ่งบริเวณนี้จะมีป้ายบอกทางขึ้นสู่ยอดเขา ซึ่งเขาสะแกกรังจะมีระยะทางห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ลักษณะทั่วไปเขาสะแกกรังเป็นเขาขนาดเล็ก สูงประมาณ 141 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณยอดเขาได้รับการพัฒนาทำถนนลาดยางขึ้นสู่ยอดเขาซึ่งรถบัสสามารถขึ้นไปได้อย่างสะดวก บนยอดเขามีที่จอดรถ ม้าหินสำหรับนั่งพักผ่อน และชมวิวเมืองอุทัยธานีได้อย่างชัดเจน มีร้านค้า ร้านอาหาร ห้องน้ำ ห้องสุขา โรงเจ รวมทั้งมณฑปพระพุทธบาท วิหารพระ ศาลารัชมังคลาภิเษกของวัดสังกัสรัตนคีรี นอกจากนี้มุมหนึ่งยังเป็นที่ตั้งของพลับพลาอนุสาวรีย์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถแห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2522 โดยที่พระบรมรูปของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ เป็นรูปหล่อ มีขนาด 2 เท่าขององค์จริง ประทับนั่งบนแท่น ชาวอุทัยธานีจะมีพิธีถวายสักการะ ทุกวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี

                                         2)  เขาปฐวี ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพทัน  เดินทางมาจากอำเภอเมืองอุทัยธานีไปตามทางหลวงสู่อำเภอทัพทัน เป็นระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร และจากอำเภอทัพทันมีเส้นทางไปเขาปฐวีอีกประมาณ 18 กิโลเมตร ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาขนาดเล็กอยู่บนพื้นที่ราบ มีความยาวประมาณ 750 เมตร และสูง 253 เมตร ค่อนข้างสูงชัน และมีถ้ำอยู่เรียงรายโดยรอบประมาณ 30 ถ้ำ ซึ่งมีทั้งขนาดเล็กใหญ่และรูปร่างแตกต่างกันออกไป  ลักษณะถ้ำทั้งหมดจะเป็นถ้ำที่มีค้างคาวอาศัยอยู่  ภายในค่อนข้างอับชื้น บริเวณลานวัดซึ่งอยู่เชิงเขาปฐวีจะมีฝูงลิงอยู่เป็นจำนวนมาก  มีผู้คนนิยมมาเที่ยวชมฝูงลิงและถ้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในอำเภอทัพทันและใกล้เคียง  นอกจากนี้ที่เขาแห่งนี้มีการค้นพบเครื่องมือหิน และโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ด้วย

                                         3) เขาผาแรด ตั้งอยู่ที่ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก เดินทางจากอำเภอลานสัก ไปตามเส้นทางลูกรัง หลังที่ว่ากาiอำเภอ ประมาณ 7.5 กิโลเมตร ลักษณะทั่วไป เป็นเขาขนาดเล็กอยู่กลางที่ราบ มีความสูงประมาณ 376 เมตร บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ มีถ้ำขนาดเล็ก ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามตามสภาพธรรมชาติ อากาศค่อนข้างอับชื้นและมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

                                         4) เขาพระยาพายเรือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก เดินทางจากอำเภอลานสัก ไปตามเส้นทางลูกรังหลังที่ว่าการอำเภอประมาณ 4.5 กิโลเมตร เป็นเขาขนาดเล็ก สูง 257 เมตร อยู่กลางทุ่งมีบึงน้ำขนาดเล็กอยู่บริเวณเชิงเขา และเป็นที่ตั้งของวัด จากบริเวณเชิงเขาขึ้นไปตามเส้นทาง เดินเข้าสู่ปากถ้ำประมาณ 150 เมตร จะถึงปากทางลงสู่ถ้ำซึ่งอยู่ต่ำลงไปยังเบื้องล่าง  ภายในค่อนข้างสลับซับซ้อนแบ่งออกเป็นถ้ำเล็กๆไม่ต่ำกว่า 12 ถ้ำ เชื่อมติดต่อกันไปมา มีหินงอกหินย้อยอยู่บ้าง แต่มีสภาพอับชื้น การชมถ้ำบางแห่งจำเป็นจะต้องคลานหรือมุดลอดเข้าไป  ภายในถ้ำหลายถ้ำหรือคูหาทางวัดได้ทำการพัฒนา มีไฟฟ้าแสงสว่างให้ชมได้โดยสะดวก

                                         5) เขาพุหวาย ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ เขาพุหวายมีถ้ำที่อยู่สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 150 เมตร เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงามตามธรรมชาติอยู่มาก ภายในประกอบไปด้วยโถงถ้ำหลายถ้ำ บางถ้ำมีลักษณะเป็นท้องพระโรงใหญ่ อากาศไหลถ่ายเทได้สะดวก แต่ถ้ำภายในจะมืดสนิท ไม่มีไฟฟ้าแสงสว่าง

                                         6) เขาปลาร้า ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก เดินทางจากอำเภอหนองฉาง ไปตามเส้นทางสายหนองฉาง-ลานสัก ประมาณ 21.5 กิโลเมตร จะแลเห็นเทือกเขาปลาร้าทางด้านซ้ายมือ ซึ่งต้องแยกซ้ายเข้าไปตามทางลาดยางอีกประมาณ 7.5 กิโลเมตร เดินเท้าปีนเขาอีกประมาณ 2 ชั่วโมง จึงจะถึงบริเวณยอดเขาลักษณะทั่วไปเขาปลาร้าเป็นเขาขนาดใหญ่กว้างประมาณ 2.5 กิโลเมตร และยาวประมาณ 8 กิโลเมตร มีความสูงประมาณ 597 เมตร จากระดับน้ำทะเล ยังมีสภาพป่าบนเขาค่อนข้างสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำธรรมชาติบนเขา และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด จากเส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาจะแลเห็นภูมิประเทศที่สวยงาม และที่สำคัญที่สุดบริเวณเพิงผาถ้ำทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเขาปลาร้า ระดับความสูงประมาณ 320 เมตร มีภาพเขียนสีผนังถ้ำตลอดแนวยาว ประมาณ 9 เมตร ซึ่งเป็นภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ที่ยังคงความสมบูรณ์สวยงาม แสดงให้เห็นถึงชีวิตสังคมของคนในยุคโบราณเหล่านั้น โดยภาพเขียนเป็นรูปคนและสัตว์เลี้ยงประมาณ 40 ภาพ เขียนด้วยสีแดงและดำนับเป็นบริเวณที่น่าสนใจที่สุดของเขาปลาร้า

                                         7) เขาถ้ำตะพาบ ตั้งอยู่ที่ตำบลวังหิน อำเภอบ้านไร่ เดินทางจากอำเภอเมืองอุทัยธานีตรงไปทางอำเภอบ้านไร่ ตามทางหลวงหมายเลข 3011 เป็นระยะทาง 55 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือไปสู่วัดถ้ำเขาตะพาบอีก 1 กิโลเมตร ลักษณะทั่วไปเป็นเขาลูกเล็ก มีถ้ำอยู่สูงจากระดับพื้นประมาณ 10 เมตร บริเวณโถงถ้ำด้านหน้ามีพระพุทธรูป และจัดเป็นสังฆวาส บริเวณด้านหลังจึงเป็นโถงถ้ำใหญ่ที่แยกไปสู่ถ้ำย่อยๆ อีกหลายถ้ำ แต่ละถ้ำก็จะมีการสร้างพระพุทธรูปไว้ด้วย มีไฟฟ้าแสงสว่างทุกถ้ำทำให้ชมได้สะดวก หินงอกหินย้อยมีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะมีสีคล้ำ

ด้านการเมือง การปกครอง

                            โครงสร้างการบริหารราชการของจังหวัดอุทัยธานี ประกอบด้วย

  1. ส่วนราชการบริหารส่วนกลาง                       41  หน่วยงาน
  2. ส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค                    31  หน่วยงาน
  3. หน่วยงานอิสระ                                            6  หน่วยงาน
  4. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ                                  15  หน่วยงาน
  5. ส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มี 3 รูปแบบ ได้แก่

  

  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี 1 แห่ง
  • เทศบาล 14 แห่ง(เทศบาลเมือง 1 แห่ง และเทศบาลตำบล 13 แห่ง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบล 49 แห่ง

(1) จำนวนประชากร

                                 จำนวนครัวเรือน   117,890      ครัวเรือน

                                 จำนวนประชากร   330,819             คน

                                 ชาย                     162,541             คน

                                 หญิง                    168,278             คน 

                        (2) ภาวะแรง งานและการจ้างงาน

      สถานการณ์แรงงาน

                                                  ประชากรและกำลังแรงงาน จังหวัดอุทัยธานี ปี พ.ศ.2558  มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 235,608 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 158,620 คน เป็นผู้มีงานทำ 158,276 คน ผู้ว่างงาน 169 คน กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล 175 คน

                                                 ผู้มีงานทำในจังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้ทำงานในภาคการเกษตร 86,989 คน คิดเป็นร้อยละ 54.96    เป็นผู้ทำงานนอกภาคการเกษตร จำนวน 71,287 คน คิดเป็นร้อยละ 45.06 โดยผู้ทำงานนอกภาคการเกษตรสูงสุด 5 ลำดับ คือ

  1. สาขาการขายส่ง ขายปลีก จำนวน 19,761 คน คิดเป็นร้อยละ 27.72
  2. สาขาการผลิต จำนวน 11,759 คน คิดเป็นร้อยละ 16.50
  3. สาขาการบริหารราชการ และป้องกันประเทศ จำนวน 10,090 คน คิดเป็นร้อยละ 14.15
  4. สาขาการก่อสร้าง จำนวน 8,938 คน คิดเป็นร้อยละ 12.54
  5. สาขากิจกรรมโรงแรม และร้านอาหาร 5,562 คน คิดเป็นร้อยละ 7.80

ด้านเศรษฐกิจ

      เศรษฐกิจจังหวัดอุทัยธานี

(1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด

                 ปี 2557 จังหวัดอุทัยธานี มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาประจำปี มูลค่า 28,983 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเฉลี่ยต่อหัว(GPP per capita)  98,544  บาท/คน โดยสาขาที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจจังหวัดอุทัยธานี อันดับแรกประกอบด้วย สาขาการเกษตรกรรมฯ มูลค่า 10,101 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.4 รองลงมาได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม มูลค่า 3,758 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.2 สาขาบริหารราชการฯ มีมูลค่า 2,100 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 9.0 และสาขาอื่นๆ มีมูลค่า 7,302 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.0 

( ที่มา : สถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดอุทัยธานี ประจำปี 2557)

(2) เศรษฐกิจจังหวัดอุทัยธานี ปี 2558

            ด้านอุปทาน ภายในจังหวัดมีแนวโน้มหดตัว ตามการผลิต ภาคเกษตร จากปริมาณผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงานลดลงเป็นสำคัญ จากการลดรอบการเพาะปลูกข้าวของเกษตรกร ประกอบกับสภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกเนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง

            ด้านอุปสงค์ ภายในจังหวัดมีแนวโน้มขยายตัวจากการบริโภคภาคเอกชนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่นมาตรการกองทุนหมู่บ้านกู้จากรัฐบาลและนำไปปล่อยกู้ต่อให้ผู้มีรายได้น้อย ช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้สอยของผู้บริโภค ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชนจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนตัดสินใจขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น และภาครัฐมีการใช้จ่ายสูงขึ้นด้วยมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณโดยเฉพาะงบลงทุนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านบาท 

                           การอุตสาหกรรม

                       ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ(สะสม) มีจำนวนทั้งสิ้น 270  โรงงาน เงินลงทุนรวม 8,529,849,506 ล้านบาท และมีจำนวนคนงาน 3,944 คน 

                           เหมืองแร่ทรัพยากรธรณีและแร่ธาตุ

แร่ธาตุที่มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำรวจพบและเปิดทำเหมืองแร่ พ.ศ. 2558

แร่ธาตุ

แหล่งที่พบ

1.    หินอ่อน

อ.บ้านไร่

2.    เหล็ก

อ.ลานสัก

3.    หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง

อ.หนองฉาง

         

การพาณิชยกรรมและการบริการ

(1) การพาณิชยกรรม

การจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ในจังหวัดอุทัยธานี ปี พ.ศ.2558  มีจำนวน 40 แห่ง

ทุนจดทะเบียน 97.10 ล้านบาท อุตสาหกรรมที่มีทุนจดทะเบียนมากที่สุดเรียง ลำดับ ดังนี้

  1. อุตสาหกรรมการขายส่ง ขายปลีกฯ มีทุนจดทะเบียน 71.6 ล้านบาท

  2. อุตสาหกรรมการก่อสร้าง มีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท

  3. อุตสาหกรรมการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า มีทุนจดทะเบียน 3.5 ล้านบาท

  4. อุตสาหกรรมการผลิต มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท

  5. อุตสาหกรรมการให้บริการชุมชนฯ มีทุนจดทะเบียน 0.8 ล้านบาท

  6. อุตสาหกรรมบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ มีทุนจดทะเบียน 0.2 ล้าน

 การขอจดทะเบียนเลิกกิจการ 15 แห่ง มีทุนจดทะเบียน 14.25 ล้านบาท และโอนย้ายกิจการ 2 แห่ง มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท

                         (2)  การบริการ

                          ธุรกิจบริการในจังหวัดอุทัยธานีมีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการขนาดเล็ก เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร รถยนต์โดยสารประจำทาง โรงแรม และรีสอร์ท เป็นต้น 

การเงินและการคลัง

                                ภาคการเงิน  โครงสร้างตลาดการเงินในระบบจังหวัดอุทัยธานี ประกอบด้วยสถาบันการเงินที่สำคัญ คือธนาคารพาณิชย์  จำนวน 13  สาขา  ธนาคารออมสิน จำนวน 4 สาขา ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 1 สาขา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 8 สาขา และสถานธนานุบาล จำนวน 1 แห่ง

ของดี ของฝาก ของจังหวัดอุทัยธานีที่มีชื่อเสียง คือ

          1. ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้า  เช่น มีดสวยงาม กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ ซึ่งเป็นงานฝีมือศิลปะจากภูมิปัญญาไทย การผลิตแต่ละขั้นตอนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวละเอียดสวยงาม วัสดุที่นำมาผลิตมีความแข็งแรงทนทาน   สามารถซื้อเป็นของสะสม และเพื่อการใช้สอย ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบให้หลากหลายเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า

          2. ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง เป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและเป็นมรดกสืบทอดต่อกันมาของชนชาติลาวครั่ง จากอดีตจนถึงปัจจุบันลักษณะการทอมีความประณีตเป็นพิเศษ มีลวดลายเฉพาะตัว ซึ่งเน้นลวดลายโบราณ ย้อมสีธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ผ้าไหมโบราณ ที่มีการสืบทอดจากบรรพบุรุษ การทำลายผ้าไหมส่วนใหญ่ได้มาจากสภาพแวดล้อมและประเพณีวัฒนธรรม ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ ประดิษฐ์คิดค้นลวดลายต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

การท่องเที่ยว

                            จังหวัดอุทัยธานี เป็นจังหวัดที่มีธรรมชาติหลากหลาย ทั้งภูเขา ถ้ำ ป่าไม้ แหล่งน้ำ น้ำตก ฯลฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและน่าสนใจมากมายกระจายอยู่ทั่วไปทุกอำเภอ ถึงแม้ว่าจังหวัดอุทัยธานีเพิ่งเริ่มตื่นตัวรณรงค์ในด้านการท่องเที่ยวก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มทวีมากขึ้นเป็นลำดับและส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยจากกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมไปพักแรมตามรีสอร์ทเชิงเขาในเขตอำเภอบ้านไร่ ซึ่งนอกจากจะได้บรรยากาศที่เป็นธรรมชาติแล้ว ในเขตพื้นที่อำเภอบ้านไร่และอำเภอใกล้เคียงยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามหลายแห่งอีกด้วย โดยเฉพาะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งซึ่งเป็นมรดกโลก ก็อยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอบ้านไร่และอำเภอลานสัก

การศาสนาและการศึกษา

 การศาสนา

                ประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 99 % ประเพณีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ “ประเพณีตักบาตรเทโว” ในวันออกพรรษา นอกจากนั้นนับถือศาสนาคริสต์ และอิสลาม

 การศึกษา

                จังหวัดอุทัยธานี มีนักเรียนในช่วงก่อนประถมศึกษา ระดับประถมวัย และระดับมัธยมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 49,122 คน โดยเป็นนักเรียนในวัยก่อนประถมศึกษา จำนวน 8,513 คน นักเรียนในระดับประถมศึกษา จำนวน 22,589 คน และนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 18,023 คน โดยอำเภอบ้านไร่มีจำนวนนักเรียนมากที่สุด จำนวน 10,739 คน รองลงมาคืออำเภอหนองฉาง จำนวน 9,518 คน ส่วนจำนวนครูในระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา มีจำนวนทั้งสิ้น 2,925 คน โดยเป็นครูในระดับประถมศึกษามากที่สุด จำนวน 1,349 คน รองลงมาคือครูในระดับมัธยมศึกษา มีจำนวน 1,148 คน

ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต 1,2

การสาธารณสุข

           จังหวัดอุทัยธานี มีจำนวนสถานพยาบาล ณ ปี 2558 ทั้งหมด 201 แห่ง โดยแบ่งออก ดังนี้

                        - โรงพยาบาลของรัฐ 8 แห่ง

                        - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 90 แห่ง

                        - สถานีอนามัย 1 แห่ง

                        - ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองอุทัยธานี 1 แห่ง

                        - ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองอุทัยธานี 1 แห่ง

                        - หน่วยบริการสุขภาพทัพยายปอน 1 แห่ง

                        - คลินิก 99 แห่ง

การสื่อสาร

                 การไปรษณีย์  ในเขตจังหวัดอุทัยธานีมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขในทุกอำเภอ ให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น รับส่งจดหมายและพัสดุ ธนาณัติ โทรเลข โทรสาร ตั๋วแลกเงิน โทรศัพท์สาธารณะระหว่างประเทศและบริการอื่น ๆ เช่น ต่อทะเบียนรถยนต์ รับประกันภัยรถยนต์ ฯลฯ มีทั้งการบริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทยและไปรษณีย์โทรเลขเอกชน ได้แก่

ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ของการสื่อสารแห่งประเทศ จำนวน 9 แห่ง ดังนี้

                                                1)  ที่ทำการไปรษณีย์อุทัยธานี           61000

                                                2)  ที่ทำการไปรษณีย์หนองฉาง          61110

                                                3)  ที่ทำการไปรษณีย์ทัพทัน              61120

                                                4)  ที่ทำการไปรษณีย์หนองขาหย่าง    61130

                                                5)  ที่ทำการไปรษณีย์บ้านไร่              61140

                                                6)  ที่ทำการไปรษณีย์สว่างอารมณ์       61150

                                                7)  ที่ทำการไปรษณีย์ลานสัก             61160

                                                8)  ที่ทำการไปรษณีย์เขาบางแกรก      61170

                                                9)  ที่ทำการไปรษณีย์เมืองการุ้ง          61180

                  -สถานีวิทยุกระจายเสียง ในจังหวัดอุทัยธานี

ชื่อสถานที่

ความถี่(เมกะเฮิรตซ์)

ผู้จดทะเบียน

ที่อยู่

เบอร์โทร

อ.ส.ม.ท.

101.75

 

73/12 ถ.รักการดี ต.อุทัยใหม่

อ.เมือง

056-513794

คนสะแกกรัง

104.75

มูลนิธิสัมพันธ์สร้างสรรค์

140/7 ถ.ศรีน้ำซึม ต.อุทัยใหม่

อ.เมือง

056-512192

R-Radio Network

วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี

94.75

วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี

วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี

อ.เมือง

056-511582

พระพุทธศาสนาแห่งชาติและสังคม

90

วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม

วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม

ตอุทัยใหม่ อ.เมือง

056-512945

คนอุทัยธานี

97.5

นายกฤษ บุญคง

97/17 ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง

056-514372

ตลาดกลางการเกษตร

88.25

นายพีระ โลหะ

โรงเรียนเชษฐศิลป์บรอหารธุรกิจและเทคโนโลยี

056-524900

โมเดิลเอฟเอ็ม

96.5

นายพิพัฒน์ เลาหวิโรจน์

1/36 ถ.ศรีเมือง ต.อุทัยใหม่

056-571088

แจมเซสชั่นเรดิโอ

108.00

นายณัฐ รักษ์คิด

99/9 ถ.บริรักษ์ ต.อุทัยใหม่

056-571706

Posh

95

นายไพบูลย์ โพธิ์ทอง

9 ม.2 ต.สะแกกรัง อ.เมือง

056-514858

เทศบาลตำบลหนองขาหย่าง

103.50

เทศบาลตำบลหนองขาหย่าง

เทศบาลตำบลหนองขาหย่าง อ.หนองขาหย่าง

056-597045

กรีนเวฟเรดิโอ

101.25

จ.ส.ต.สิงหพล คงยอด

อาคารทรงไทย 469 ม.1 ต.ทัพทัน อ.ทัพทัน

056-540336

ไดมอนด์ เรดิโอ

90.75

นายชัยณรงค์ โฉมศรี

7/2 ม.6 ต.หนองฉาง

อ.หนองฉาง

056-532636

เมจิเวฟ เอฟเอ็ม

107.5

นายชลิต วงษ์สกุล

73/9-10 ม.1 ต.หนองสรวง

 อ.หนองฉาง

056-521303

ไวท์ฮาร์ท เอฟเอ็ม

89

นางสุมนต์ วงษ์สกุล

37 ม.1 ต.สว่างอารมณ์

อ.สว่างอารมณ์

089-8574564

เพื่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

92.25

นายชาตรี บางบุญฤทธิ์

100 ม.9 ต.สุขฤทัย อ.ห้วยคต

056-535244

คนลานสัก

102.75

นางสาวศรัญญา โพธิ์เรือง

โรงพยาบาลลานสัก

056-537131

ตำบลบ้านไร่

104.25

นายวรรลบ ทิพย์กาวี

215 ม.6 ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่

056-546223

พีพี เรดิโอ

96.5

นางสาวภาวินี วงศ์สกุล

219/14 ม.6 ต.บ้านไร่

อ.บ้านไร่

056-546323

คนทำไร่อ้อย

103

นายสมพร กลัดล้อม

บจก.อุตสาหกรรมน้ำตาล

บ้านไร่

056-596717

- สื่อมวลชน ที่มีอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี        

ชื่อ-สกุล

สังกัด

ที่อยู่

เบอร์โทร

นายสถาพร สังข์ศิริ

เดลินิวส์, News TV

151/9 ถ.ศรีอุทัย ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง

056-512432

นายสามลอ จันทรังษ์

ไทยรัฐ คมชัดลึก

ช่อง 3 ช่อง 5 TNN

โรงพยาบาลทัพทัน ม.1 ต.ทัพทัน

อ.ทัพทัน

081-0467099

นายโสภณ ทองโพธิ์งาม

เดลินิวส์ ช่อง 7

บ้านพัก สนง.เกษตรจังหวัด ต.น้ำซึม

อ.เมือง

081-8883955

นายสุรยุทธ รุทระกาญจน์

มติชน

221 ถ.วงศ์ศาโรจน์ ต.อุทัยใหม่

อ.เมือง

056-511567

นายสำรวม บุญล้น

ไทยรัฐ ช่อง 9 TPBS

Nation

1/6 ถ.ศรีอุทัย ต.อุทัยใหม่

อ.เมือง

056-571306

นายดำรง โค่นถอน

สวท.กทม ช่อง NBT

สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุทัยธานี

ศาลากลางจังหวัด

056-511915

นายอาทร จันทร์พิลา

ประชาสัมพันธ์จังหวัด

สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุทัยธานี

ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี

056-511915

นางชนัญญา อึ้งอภิรักษ์

หนังสือพิมพ์อุทัยโพสต์บ้านเมือง

43/9 ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง

056-520683

นางสาวสุภัสรา สุขสถิตย์

หนังสือพิมพ์อุทัยธานีนิวส์

203/2 ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง

056-571816

นายสุธน พันธุเมฆ

หนังสือพิมพ์ข่าวสด

44 ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง

056-512433

นางบังอร แสงเล็ก

งานประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองอุทัยธานี

กองวิชาการและแผนงาน

สนง.เทศบาลเมืองอุทัยธานี

056-511061

นายพิฆเนตน์ โคชา

วารสาร รายเดือน อบจ.

อบจ.จังหวัดอุทัยธานี

ถ.ศรีอุทัย ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง

056-511367

 

การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

                (1)  การไฟฟ้า

                                      การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี ให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟในทุกอำเภอ แต่เนื่องจากในเขตจังหวัดไม่มีสถานีย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตให้บริการ จึงต้องซื้อกระแสไฟฟ้าจากสถานีย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

                (2)  การประปา

                                      การประปาส่วนภูมิภาคตั้งอยู่เลขที่ 116 หมู่ 5 ตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง มีกำลังผลิตรวม 480  ม3 /ชม.  มีหน่วยบริการ ดังนี้

  1. หน่วยบริการหนองฉาง           ตั้งอยู่เลขที่ 116 หมู่ 5 ตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง

  2. หน่วยบริการทัพทัน               ตั้งอยู่ที่ตำบลทัพทัน อำเภอทัพทัน

  3. หน่วยบริการหนองขาหย่าง      ตั้งอยู่ที่ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองฯ

  4. หน่วยบริการลานสัก               ตั้งอยู่ที่ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก

  5. หน่วยบริการสว่างอารมณ์        ตั้งอยู่ที่ตำบลสว่างอารมณ์ อำเภอสว่างอารมณ์

  6. หน่วยบริการตลุกดู่                 ตั้งอยู่ที่ตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพทัน

การแบ่งเขตการปกครอง

                      ในปี 2558 จังหวัดอุทัยธานีมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 70 ตำบล 642 หมู่บ้าน  14  เทศบาล และ 49  องค์การบริหารส่วนตำบล  

อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เทศบาล อบต. จำนวนพื้นที่
เมืองอุทัยธานี 14 86 2 8 250.103
ทัพทัน 10 90 3 4 323.633
สว่างอารมณ์ 5 65 3 3 341.441
หนองฉาง 10 97 2 8 341.181
หนองขาหย่าง 9 53 1 5 347.776
บ้านไร่ 13 136 2 12 3,621.492
ลานสัก 6 84 1 6 1,080.445
ห้วยคต 3 31 0 3 424.175
รวม 70 642 14 49 6,730.246

 


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 54,023